อุตสาหกรรมการเกษตรทั่วโลกกำลังจะพลิกโฉมใหม่
เพื่อรองรับการบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคมโลก การเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิและภูมิอากาศในโลก (climate
change) ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีในการดำเนินชีวิตของผู้คน
ทั้งยังส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการเกษตรทั่วโลก การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
สหประชาชาติรายงานว่า จำนวนประชากรโลกคาดว่าจะเกิน7,000
พันล้านคนในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2011
และรายงานการคาดการณ์สำหรับช่วงกลางศตวรรษ ปี 2050
ประชากรของโลกคาดว่าจะมากเกิน 9,300 พันล้านคน ที่ดิน สำหรับทำการเกษตรลดน้อยถอยลง
เพราะถูกความเจริญไล่ล่า แปรสภาพเป็นตึกราม บ้านช่อง สนามกอล์ฟ โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ
และที่มากกว่านั้นคนที่หันมายึดอาชีพเกษตร(แรงงาน)จะมีจำนวนน้อยลง วันนี้การทำการเกษตรแบบเดิม ๆ จึงไม่สามารถจะเลี้ยงดูคนทั้งโลกได้
10
ปีต่อจากนี้ไปจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือพลิก
โฉมหน้าการพัฒนาการเกษตร (transformative agriculture) เพื่อนำไปสู่คำว่า
“ผลิตภาพ” หรือ
productivity ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณ
และ/หรือมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยคำนึงถึงการใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการปรับปรุง
คุณภาพปัจจัยการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิต ตลอดจนการบริหารจัดการ
รวมถึงบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการผลิต
ทุกประเทศทั่วโลกต้องปรับตัว
และมียุทธศาสตร์ใหม่ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารแก่ประชากรของตัวเอง
ในส่วนของภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจด้านเกษตรและอาหาร
ก็ต้องปรับโมเดลทางธุรกิจใหม่เช่นกัน
เพราะนอกจากต้องเผชิญกับปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร แล้ว
ยังมีคู่แข่งอีกมากมายบนเวทีการค้าโลก จะเห็นได้ว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องพลิกโฉมหน้าในการพัฒนาการเกษตร....ไปสู่การลงทุนด้านอัจฉริยะมากขึ้น
จีน ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2
ของโลก กำลังพลิกโฉมด้านการพัฒนาภาคเกษตร โดยผ่านนโยบาย“เกษตรสมัยใหม่”
(new agriculture) ซึ่งเป็นการทำเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตให้ได้ทั้งปริมาณและ คุณภาพ
ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประเทศจีนกำลังเริ่มนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 12(พ.ศ.2554-2558)
ซึ่งประกาศไว้ว่า จะเปลี่ยนโมเดลจากโรงงานของโลกมาเป็นตลาดของโลก
จากผู้ผลิตมาทำตลาดเอง บูรณาการทุกอย่างหมด
“หมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัย”
หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ “Xinnongchun Project” เป็น
1
ในโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้แนวนโยบายเกษตรสมัยใหม่ ดำเนินการในลักษณะ “สี่ประสาน”
กล่าวคือเป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐ บริษัทเอกชน ธนาคาร
และเกษตรกร
ในส่วนนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับโอกาสจากรัฐบาลจีนให้เข้าไปดำเนินโครงการ
หมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัยหลายโครงการ
เริ่มจาก พศ. 2552 ซี.พี. ร่วมมือรัฐบาลจีน
ทำโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่
“ผิงกู่” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กรุงปักกิ่ง
โดยสร้างฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ทันสมัยที่สุดสามารถเลี้ยงไก่ได้ 3
ล้านตัวมีมูลค่าการลงทุน 582-615 ล้านหยวน
โครงการนี้เกษตรกรรวมตัวกันในรูปสหกรณ์
ที่มีรัฐบาลจีนส่งเสริมและสนับสนุนทุนประมาณ 15% เครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนทุน 15%
ส่วนที่เหลืออีก 70%ธนาคารเป็นผู้ให้สินเชื่อ
โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นผู้เช่าพื้นที่บริหารจัดการโครงการเกษตรดังกล่าว
ซึ่งเป็นการรับความเสี่ยงแทนเกษตรกร สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ 3
ล้านตัว เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการแบบครบวงจร มีไก่พันธุ์ ไก่รุ่น อาหารสัตว์
สามารถนำเอามูลไก่ไปทำไบโอแก๊ส มีโรงงานแปรรูปไข่
นอกจากนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังได้ลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลจีนเพื่อดำเนิน
โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัยในจีนอีกหลายโครงการ อาทิ
โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัย ที่มณฑล จี๋ หลินซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน
เป็นมณฑลเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีพืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
โดยมีสินค้าเกษตรและเนื้อสัตว์มากเป็นอันดับ 1
ของจีน ทั้งนี้โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมแผนใหม่มีมูลค่าการลงทุน 7,900
ล้านหยวน หรือ 39,500 ล้านบาท ในโครงการนี้จะมีการเลี้ยงไก่ไข่ 3
ล้านตัว/ปี สุกร 1
ล้านตัว/ปี และไก่เนื้อ 100
ล้านตัว/ปี
โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมทันสมัยที่เมืองจั้นเจียง มณฑลกวางตุ้ง
เป็นโครงการที่เลี้ยงสุกร 1 ล้านตัว ไก่ 100
ล้านตัว รวมถึงสัตว์น้ำ มีมูลค่าการลงทุน 8,000
ล้านหยวน เมืองจั้นเจียงว่าเป็นเมืองสีเขียวที่มีความพร้อมในการพัฒนาด้านเกษตร
อุตสาหกรรม อีกทั้งรัฐบาลจั้นเจียงก็มีนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจอย่างเต็มที่
นอกจากนี้จีนยังมีการพัฒนาภาคเกษตรในรูปแบบโครงการที่เรียกว่า “mega
farms และmetropolitan agriculture” อีกด้วย ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากรัฐบาลจีนให้ดำเนินโครงการ
CIXI ที่มณฑลเจ้อเจียง
โครงการนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลจีน พัฒนาพื้นที่ 8,000
ไร่ในเมืองฉือซี(CIXI) โดยมีรูปแบบการพัฒนาแบบ intensive&mixed
farming เป็นเกษตรผสมผสานแบบทันสมัยครบวงจรตั้งอยู่บนที่ดินที่เกิดจากการล้อมทะเล
ใกล้เขตเมือง ซึ่งรัฐบาลจีนวางแผนให้โครงการนี้เป็นแหล่งผลิตอาหารป้อนพลเมือง 100
ล้านคน เพราะเป็นโครงการที่ตั้งอยู่ในรัศมีที่รายล้อมไปด้วยเมืองขนาดใหญ่ เช่น
เซี่ยงไฮ้ หังโจวและหนิงโป ในเบื้องต้นนี้ได้ประมาณการมูลค่าการลงทุน 4,000
– 5,000 ล้านหยวน
ภายในโครงการฉือซีแห่งนี้จะพัฒนาเกษตรครอบคลุมครบทั้งด้านพืชผักและปศุสัตว์
ธุรกิจแรกที่เครือเจริญโภคภัณฑ์จะดำเนินการบนพื้นที่นี้คือธุรกิจปลูกพืชผัก
ปลอดภัยในเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยจากฮอลล์แลนด์ ปลูกพืชผักบนเนื้อที่ประมาณ
2,000 ไร่ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนที่สูง
แต่จะให้ผลผลิตสูงและคุณภาพสูง พืชที่ปลูกได้แก่ ผักประเภทผักสลัด มะเขือเทศ
พืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบยาและเครื่องสำอาง เป็นต้น
การปลูกพืชผักในเรือนกระจกจะแก้ปัญหาความแตกต่างในเรื่องของฤดูกาลได้เป็น อย่างดี
ทำให้สามารถผลิตพืชผักได้ทุกฤดูกาล ซึ่งเป็นโอกาสที่ได้เปรียบในการทำธุรกิจพืชผัก
สำหรับโครงการในอนาคตภายใต้รูปแบบ mega farms และ
metropolitan agriculture ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์มีโอกาสจะได้ดำเนินการและอยู่ระหว่างการเจรจาและ
ศึกษาความเป็นไปได้ ประกอบด้วย 1.ซินเกียง(Xinjiang)
2.เลี๋ยวหนิง(Liaoning)
3.เทียนจิน(Tianjin) 4.ปักกิ่ง(Beijing)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น