การผลิตปุ๋ยหมักจากดินเลนนากุ้งที่ทำการศึกษาทดลองโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่
จ.จันทบุรี นั้นนับว่าประสบความสำเร็จเป้นที่น่าพอใจยิ่งด้วยสามารถนำมาใช้งานได้อย่าง ได้ผล ที่นี่ทดลองโดยใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุในการผลิตจำนวน 3,000 กก. โดยแบ่งเป็นกองๆ ละ 1,000 กก. ใช้ดินเลนจากนากุ้งในอัตรา 900 กก. แบ่งเป็นกองๆละ 200, 300, 400 กก. ใส่สารเร่ง พด.1 เป็นสารช่วยย่อยปุ๋ยและปุ๋ยยูเรียอัตรา
2 กก.ต่อฟางข้าว 1,000 กก. รดน้ำให้ชื้นทำการกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ
7 วัน จนกระทั่งครบ 8 อาทิตย์ ทำการเก็บตัวอย่างปุ๋ยหมักมาวิเคราะห์พบว่าสามารถนำมาใช้เป็นดินเพื่อการ เพาะปลูกได้ จากนั้นทางศูนย์ศึกษาจึงได้ต่อยอดความสำเร็จนี้ยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่โดย การพัฒนาขบวนการผลิต
สำหรับกรรมวิธีในการดำเนินการนั้นขั้นต้นที่เกษตรกรนำไปดำเนินการจะเริ่ม ด้วยการ นำเศษพืช จำนวน 1,000 กิโลกรัม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 250 กิโลกรัม นำมา 1 ส่วน เอาไปไว้ ในแปลงที่เตรียมไว้ เกลี่ยให้เศษพืชเป็นกองคล้ายๆ แปลงผัก มีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 30 เซนติเมตร แล้วรดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบย่ำให้แน่น จากนั้น นำดินเลนนากุ้งจากนากุ้งที่ตากแห้งแล้วจำนวน 200 กิโลกรัม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 50 กิโลกรัม นำมา 1 ส่วน โรยลงบนกองเศษหญ้าให้ทั่ว จากนั้นใช้ปุ๋ยยูเรียจำนวน 2 กิโลกรัม มาแบ่งเป็น 4 ส่วน เช่นเดียวกัน นำมา 1 ส่วน โรยทับลงบนดินเลนจากนากุ้ง
ตามด้วยสารเร่ง พด.1 จำนวน 1 ถุงมาละลายน้ำประมาณ 20 ลิตร หรือประมาณ 1 ปีบ กวนให้เชื้อจุลินทรีย์ฟื้นตัวใช้เวลาประมาณ 10 นาที แบ่งน้ำที่ละลายนั้นออกเป็น 4 ส่วน นำมา 1 ส่วน รดให้ทั่วกองเศษหญ้าแล้วเอาเศษพืชมากองทับอีกชั้น ให้สูงขึ้นมาอีก 2 คืบ รดน้ำให้ชุ่มแล้วเหยียบย่ำให้แน่น แล้วโรยด้วยดินเลนนากุ้ง ปุ๋ยยูเรีย และสารเร่ง พด.1 ที่ละลายน้ำเหมือนเช่นที่ทำในขั้นต้น
หลังจากนั้นทำในลักษณะเดียวกัน จนครบ 4 ชั้นจะได้ความสูงประมาณ 1.2 เมตรถึง 1.5 เมตร นำดินมาทับชั้นบนสุดเล็กน้อย หาวัสดุเช่นทางมะพร้าวปิดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในกองปุ๋ย
เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ภายในกองปุ๋ยจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ สีของกองปุ๋ยจะเข้มขึ้นกว่าเมื่อเริ่มกองจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ในส่วนของอุณหภูมิภายในกองเศษพืชเมื่อกองใหม่ๆ ความร้อนจะเพิ่มขึ้น พอกองไประยะหนึ่งความร้อนจะลดลง เมื่ออุณหภูมิภายนอกและภายในไม่แตกต่างกันหรือแตกต่างกันเล็กน้อย แสดงว่าเศษพืชสลายตัวใช้ได้แล้ว ส่วนลักษณะความอ่อนนุ่มของเศษพืชเมื่อใช้นิ้วบี้ดู เศษพืชจะอ่อนนุ่มยุ่ยขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็งกระด้างและเหนียวเหมือนเมื่อเริ่มกอง สุดท้ายคือ จะมีต้นพืชที่มีระบบรากลึกสามารถขึ้นบนกองปุ๋ยได้แสดงว่าปุ๋ยหมักนั้นนำไป ใช้ได้แล้ว
ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี จะมีแปลงสาธิตการผลิตปุ๋ยจากดินเลนนากุ้ง พร้อมแปลงเพาะปลูกพืชที่ใช้ปุ๋ยจากการผลิตนี้ให้ได้เห็นเป็นตัวอย่าง เกษตรกรที่สนใจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านการทำนากุ้งแล้วมีปัญหาเรื่องของดินเลนในนากุ้ง สามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้แล้วนำมาดำเนินการเองที่นากุ้งได้โดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้แต่ประการใดทั้งสิ้น.
สำหรับกรรมวิธีในการดำเนินการนั้นขั้นต้นที่เกษตรกรนำไปดำเนินการจะเริ่ม ด้วยการ นำเศษพืช จำนวน 1,000 กิโลกรัม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 250 กิโลกรัม นำมา 1 ส่วน เอาไปไว้ ในแปลงที่เตรียมไว้ เกลี่ยให้เศษพืชเป็นกองคล้ายๆ แปลงผัก มีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 30 เซนติเมตร แล้วรดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบย่ำให้แน่น จากนั้น นำดินเลนนากุ้งจากนากุ้งที่ตากแห้งแล้วจำนวน 200 กิโลกรัม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 50 กิโลกรัม นำมา 1 ส่วน โรยลงบนกองเศษหญ้าให้ทั่ว จากนั้นใช้ปุ๋ยยูเรียจำนวน 2 กิโลกรัม มาแบ่งเป็น 4 ส่วน เช่นเดียวกัน นำมา 1 ส่วน โรยทับลงบนดินเลนจากนากุ้ง
ตามด้วยสารเร่ง พด.1 จำนวน 1 ถุงมาละลายน้ำประมาณ 20 ลิตร หรือประมาณ 1 ปีบ กวนให้เชื้อจุลินทรีย์ฟื้นตัวใช้เวลาประมาณ 10 นาที แบ่งน้ำที่ละลายนั้นออกเป็น 4 ส่วน นำมา 1 ส่วน รดให้ทั่วกองเศษหญ้าแล้วเอาเศษพืชมากองทับอีกชั้น ให้สูงขึ้นมาอีก 2 คืบ รดน้ำให้ชุ่มแล้วเหยียบย่ำให้แน่น แล้วโรยด้วยดินเลนนากุ้ง ปุ๋ยยูเรีย และสารเร่ง พด.1 ที่ละลายน้ำเหมือนเช่นที่ทำในขั้นต้น
หลังจากนั้นทำในลักษณะเดียวกัน จนครบ 4 ชั้นจะได้ความสูงประมาณ 1.2 เมตรถึง 1.5 เมตร นำดินมาทับชั้นบนสุดเล็กน้อย หาวัสดุเช่นทางมะพร้าวปิดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในกองปุ๋ย
เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ภายในกองปุ๋ยจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ สีของกองปุ๋ยจะเข้มขึ้นกว่าเมื่อเริ่มกองจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ในส่วนของอุณหภูมิภายในกองเศษพืชเมื่อกองใหม่ๆ ความร้อนจะเพิ่มขึ้น พอกองไประยะหนึ่งความร้อนจะลดลง เมื่ออุณหภูมิภายนอกและภายในไม่แตกต่างกันหรือแตกต่างกันเล็กน้อย แสดงว่าเศษพืชสลายตัวใช้ได้แล้ว ส่วนลักษณะความอ่อนนุ่มของเศษพืชเมื่อใช้นิ้วบี้ดู เศษพืชจะอ่อนนุ่มยุ่ยขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็งกระด้างและเหนียวเหมือนเมื่อเริ่มกอง สุดท้ายคือ จะมีต้นพืชที่มีระบบรากลึกสามารถขึ้นบนกองปุ๋ยได้แสดงว่าปุ๋ยหมักนั้นนำไป ใช้ได้แล้ว
ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี จะมีแปลงสาธิตการผลิตปุ๋ยจากดินเลนนากุ้ง พร้อมแปลงเพาะปลูกพืชที่ใช้ปุ๋ยจากการผลิตนี้ให้ได้เห็นเป็นตัวอย่าง เกษตรกรที่สนใจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านการทำนากุ้งแล้วมีปัญหาเรื่องของดินเลนในนากุ้ง สามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้แล้วนำมาดำเนินการเองที่นากุ้งได้โดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้แต่ประการใดทั้งสิ้น.
ลิงค์ : http://www.dailynews.co.th/agriculture/205055
แหล่งข่าว : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น